วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

เรื่อง เซลล์อิเล็คโทรไลต์

1. เปรียบเทียบ เซลล์กัลวานิก และ เซลล์อิเล็กโทรไลต์ โดยพิจารณาข้อสรุปต่อไปนี้
ก. ไอออนบวกจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วลบ และไอออนลบจะวิ่งเข้าหาขั้วบวกเสมอ
ในเซลล์ทั้งสองชนิด
ข. ในเซลล์กัลวานิก ไอออนบวกจะวิ่งไปที่แอโนด และไอออนลบจะวิ่งไปที่แคโทด
ในเซลล์อิเล็กโทรไลต์ ไอออนบวกและลบจะวิ่งไปที่แคโทดและแอโนด ตามลำดับ
ค. ในเซลล์กัลวานิก ขั้วของแอโนดและแคโทดจะเป็นขั้วลบ และบวกตามลำดับ
ส่วนในเซลล์อิเล็กโทรไลต์ แอโนด คือขั้วบวก และแคโทดคือขั้วลบ
ง. อิเล็กตรอนไหลจาก แอโนดไปแคโทด เมื่อต่อสายภายนอกของเซลล์กัลวานิก
ส่วนในเซลล์อิเล็กโทรไลต์ อิเล็กตรอนมาจากแบตเตอรี่เข้าสู่ขั้วแอโนด
ข้อใดสรุปถูก
1 ค เท่านั้น ***
2 ข, ง เท่านั้น
3 ก, ง เท่านั้น
4 ก, ค, ง เท่านั้น

3. ข้อใดต่อไปนี้ อธิบายเกี่ยวกับแบตเตอรี่ได้ถูกต้อง
1. ขณะจ่ายไฟ ค่าศักย์ไฟฟ้าของแต่ละเซลล์ในแบตเตอรี่มีค่าคงที่
2. ขณะจ่ายไฟ สารที่เข้าทำปฏิกิริยาเป็นสารชนิดเดียวกัน
3. ตัวรีดิวซ์มีการเปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชันเท่ากับ 4
4. ระดับความเข้มข้นของกรดมีผลต่อศักย์ไฟฟ้าของเซลล์**

4. ต่อไปนี้เป็นเหตุผลของการเลือกใช้ปรอท (ซึ่งเป็นสารที่มีพิษมาก) เป็นอิเล็กโทรดของเซลล์อิเล็กโทรไลต์ในการเตรียมโซดาไฟ (NaOH) ทั้งสิ้น ยกเว้น

1. ปรอทช่วยป้องกันมิให้แก๊สคลอรีนที่เกิดขึ้น ทำปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
2. ปรอทสามารถรวมกับผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นที่แคโทดได้สารละลายอะมัลกัม
3. ปรอทช่วยให้สามารถแยกเอาผลิตภัณฑ์บางชนิดออกจากเซลล์อิเล็กโทรไลต์ได้
4. ปรอทช่วยเร่งให้เกิดปฏิกิริยาได้ โซดาไฟเร็วยิ่งขึ้น ***

5. สมมติว่าในเซลล์อิเล็กโทรไลต์ที่ใช้ผลิตโซดาไฟนี้ใช้แพลทินัม (Pt) เป็นแคโทดแทนปรอท ผลที่เกิดขึ้นควรเป็นอย่างไร
1. ปฏิกิริยาแยกสลายจะไม่เกิดขึ้น
2. จะไม่ได้โซดาไฟเป็นผลิตภัณฑ์ แต่ยังคงมีปฏิกิริยาแยกสลายเกิดขึ้น
3. ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นที่แคโทดจะทำปฏิกิริยากับน้ำภายในเซลล์ทันที ***
4. จะไม่มีแก๊สคลอรีนเกิดขึ้น แต่จะได้แก๊สออกซิเจนแทน

6. M เป็นแก๊สไม่มีสี ไม่เกิดสารประกอบคลอไรด์ ใช้บรรจุในหลอดผลิตแสงเลเซอร์ แก๊ส M น่าจะมีพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 – 4 ในข้อใด (หน่วยเป็น kJ/mol)
1. 2087, 3959, 6128, 9375 ***
2. 807, 2433, 3665, 25033
3. 906, 1763, 14855, 21013
4. 502, 4569, 6919, 9550

7. ไอออนหรืออะตอมในข้อใดที่มีการจัดอิเล็กตรอนเหมือนกับคลอไรด์ไอออน
1. F-
2. Ne
3. Al3+
4. Ca2+ ***

8. พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 ของธาตุในข้อใดเพิ่มขึ้นตามลำดับ
1. Ca, Mg, Be ***
2. Li, Na, K
3. F, Ne, Na
4. N, C, B

9. ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี้ จะบอกให้ทราบถึงสมบัติของธาตุ
1. ความแข็งแรงของพันธะระหว่างอะตอม
2. ความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนของธาตุ ***
3. ความสามารถในการดึงดูดไฮโดรเจนของธาตุ
4. ความสามารถในการกลายเป็นไอออนบวก

10. ถ้า IE (Li) และ IE (Be) เป็นพลังงานไอออไนเซชันของลิเทียมและเบริลเลียม ตามลำดับ และกำหนดให้ IE1 (Li) = 0.526 IE2 (Li) = 7.305 IE3 (Li) = 11.822
IE1(Be) = 0.906 IE2(Be) = 1.763 IE3 (Be) = 14.855 MJ/mol
ข้อมูลทั้งหมดนี้สอดคล้องกับข้อความในข้อใด
1. อะตอมของลิเทียมมีขนาดใหญ่กว่าอะตอมของเบริลเลียม
2. ลิเทียมมี 1 เวเลนซ์อิเล็กตรอน เบริลเลียมมี 2 เวเลนซ์อิเล็กตรอน ***
3. ลิเทียมมีอิเล็กโทรเนกาติวิตี้ต่ำกว่าเบริลเลียม
4. ทั้งลิเทียมและเบริลเลียมเป็นโลหะ

*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

<< เคมี >> เรื่อง ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม

1. ข้อใดเป็นความจริงของการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์ในระดับอุตสาหกรรม


1. แก๊สไฮโดรเจนที่ผลิตได้จากเซลล์ไดอะแฟรมสามารถนำไปใช้ทำกรดไฮโดรคลอริก ส่วนสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเรยอง

2. แก๊สคลอรีนที่ผลิตได้จากเซลล์ปรอทสามารถนำเอาไปใช้ฆ่าเชื้อในกระบวนการทำน้ำประปา ส่วนสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตโมโนโซเดียมกลูตาเมต และใช้เป็นผงชูรสต่อไป

3. เฉพาะเซลล์เยื่อแลกเปลี่ยนไอออนเท่านั้น ที่มีแก๊สคลอรีนและแก๊สไฮโดรเจนเกิดขึ้น

*** 4. โซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ได้จากเซลล์เยื่อแลกเปลี่ยนไอออนจะมีความเข้มข้น สูงกว่าที่ได้จากเซลล์ไดอะแฟรมแต่จะน้อยกว่าที่ได้จากเซลล์ปรอท



2. สารทั้งสามในข้อต่อไปนี้ต้องใช้โซเดียมคลอไรด์หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการผ่านกระแสไฟฟ้าลงในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ตัวใดตัวหนึ่งเข้าไปเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิต

1.ผงชูรส โซดาแอช ปุ๋ยยูเรีย

** 2.ผงชูรส โซดาแอช พีวีซี

3.ผงซักฟอก พีวีซี ปุ๋ยยูเรีย

4.ผงซักฟอก ปุ๋ยยูเรีย โซดาแอช



3. ในการถลุงดีบุก ปฏิกิริยาใดที่ไม่ได้เกิดขึ้นในเตาถลุง

1. CaCo3(s) CaO(s) + CO2(g)

2. C(s) + CO2(g) 2CO(g)

** 3. 2CO(g) + O2(g) 2CO2(g)

4. CaO(s) + SiO2(l) CaSiO3(l)



4. ผลพลอยได้จากการผลิตสารในข้อ ก และ ข ต่อไปนี้ สามารถทำให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตอะไรได้บ้าง

ก. ผงชูรสจากแป้งมันสำปะหลัง

ข. ก๊าซคลอรีนจากเกลือสมุทร

** 1. ปุ๋ยและผงซักฟอก

2. กรดอะมิโนและก๊าซไฮโดรเจน

3. น้ำตาลกลูโคสและกรดไฮโดรคลอริก

4. แอมโมเนียมกลูตาเมตและโซเดียมไฮดรอกไซด์



5. ข้อใดไม่ใช่อุตสาหกรรมเซรามิกส์

1. อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์

** 2. อุตสาหกรรมซีเมนต์

3. อุตสาหกรรมแก้ว

4. ไม่มีข้อถูก



6. เกลือแกงเป็นวัตถุดิบที่สำคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมประเภทใดมากที่สุด

1. โรงงานผงชูรส

** 2. โรงงานโซดาไฟ

3. โรงงานน้ำตาล

4.โรงงานผงซักฟอก



7. โรงงานอุตสาหกรรมใดข้างล่างนี้ที่ไม่ได้ใช้คลอรีนในกระบวนการผลิต

1. อุตสาหกรรมพลาสติก

** 2. อุตสาหกรรมทำกระดาษ

3. อุตสาหกรรมทำสบู่

4. อุตสาหกรรมทำผงชูรส



8. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง

1. แทนทาลัมเป็นธาตุกึ่งโลหะสีเทา ใช้ทำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

** 2. แทนทาลัมและไนโอเบียมสามารถละลายได้ใน MIBK

3. ในการสกัดแทนทาลัม สกัดโดยใช้สารละลายกรด

4. แทนทาลัมเป็นส่วนผสมในเหลักกล้าใช้ผลิตท่อส่งแก๊ส



9. ตัวรีดิวซ์ที่ใช้ในการถลุงดีบุกคือข้อใด

** 1. C

2. Mg

3. Zn

4. Zr



10. การถลุงแร่ชนิดใดที่เกิดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นแก๊สพิษ

1. แร่แคสซิเทอไรต์

2. แร่ซิงค์ไคต์

** 3. แร่สติบไนต์

4. แร่สมิทไนต์



*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*--*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*